น้ำตาลเทียม อันตรายไหม ? ไม่อันตราย ถ้าทานถูกชนิด

น้ำตาลเทียม อันตรายไหม ? ไม่อันตราย ถ้าทานถูกชนิด

สารบัญเนื้อหา

น้ำตาลเทียม อันตรายไหม

น้ำตาลเทียม อันตรายไหม

คำถามที่มีการถกเถียงกันกันมานานว่า น้ำตาลเทียม อันตรายไหมนั้น หลังจากไปตามสืบ ตามส่องงานวิจัยจากต่างประเทศจากหลายเว็บไซต์ที่มีความเชื่อถือ อย่างเช่นเว็บของ วิทยาลัยฮาร์วาร์ด และอีกหลายๆเว็บไซต์ คำตอบที่ได้คือ น้ำตาลเทียม ไม่ได้อันตรายอย่างที่คิด 

แต่! เฉพาะ สำหรับ 6 ชนิดนี้ที่ได้รับการอนุมัติจากองค์การหารและยาในสหรัฐอเมริกาและยุโรปแล้วเท่านั้น! เนื่องจากแต่ละการทดลองน้ำตาลเทียม ได้ทดลองในสัตว์ที่มีขนาดเล็ก ทำให้เกิดมะเร็งกระเพราะเลยมีการถกเถียงกันเป็นอย่างมาก ว่าอันตราย แต่ จากหลายๆงานวิจัย ไม่มีการพบผลต่อมนุษย์แต่อย่างใด อาจจะมีบางชนิด ที่พบผลต่อมนุษย์บ้าง แต่เมื่อศึกษาและวิจัยครั้งแล้วครั้งเล่า ก็ยังไม่ได้ข้อสรุปที่จะบอกว่าผลที่เกิดกับมนุษย์เหล่านั้น เกิดจากการกินน้ำตาลเทียมแต่อย่างใด เพราะส่วนใหญ่ไม่เกิดผล แค่อาจเป็นเรื่องบังเอิญเพียงเท่านั้น

น้ำตาลเทียม คืออะไร (Artificial Sweeteners)

น้ำตาลเทียม คือ สารให้ความหวานแทนน้ำตาล ซึ่งให้พลังานเป็น 0 และแคลอรี่ต่ำ น้ำตาลเทียมนั้น ถูกค้นพบเพราะลืมล้างมือ … คุณอ่านไม่ผิดหรอก น้ำตาลเทียม เกิดจากการที่นักเคมีที่มหาวิทยาลัยจอห์นฮอปกินส์ (Johns Hopkins) นามว่าไอรา เรมเซน (Ira Remsen) ลืมล้างมือหลังจากทำการพัฒนาอนุพันธ์น้ำมันดิน ถ่านหินและหลังจากทดสอบความบริสุทธิ์ของการขนส่งน้ำตาล เมื่อปี ค.ศ. 1879 ไอรา เรมเซน (Ira Remsen) ได้ทำงานเขาจนเสร็จ แล้วก็กลับบ้านตามปกติ แต่ที่ไม่ปกติคือยังไม่ได้ล้างมือ! เค้าได้หยิบขนมปังขึ้นมา เพื่อที่จะกินเหมือนทุกๆวัน แต่ที่ไม่เหมือนทุกวันคือ ขนมปังชิ้นนั้นมีรสหวาน! ไอรา เรมเซน (Ira Remsen) เลยนึกได้ว่าเค้ายังไม่ได้ล้างมือ!!! ทำให้มีความหวานจากสารเคมีติดมือเค้ามาด้วย เขาจึงได้กลับไปที่ห้องทดลอง และได้ชิมรสสารเคมีทุกอย่างที่เขาทิ้งไว้บนโต๊ะ จนกระทั่งเจอกับบีกเกอร์ที่เต็มไปด้วยกรดซัลโฟเบนโซอิก (Sulfobenzoic acid) ฟอสฟอรัสคลอไรด์ (Phosphorus chloride) และ แอโมเนีย (Ammonia) และสารเหล่านี้ในบีกเกอร์ได้ให้กำหนดสารที่มีชื่อว่า แซ็กคาริน (Saccharin) ซึ่งเป็นสารให้ความหวานเทียมตัวแรกนั่นเอง

น้ำตาลเทียม มีอะไรบ้างที่ผ่านการรับรองในสหรัฐและยุโรป

1.น้ำตาลเทียม หญ้าหวาน (stevia)

หญ้าหวานมาจากหญ้า Rebaudiana ซึ่งเป็นพืชในอเมริกาใต้ มีการใช้มาหลายศตวรรษแล้วเพื่อทำเครื่องดื่มหวานและทำชา สาร Rebaudioside A เป็นสารประกอบชนิดหนึ่งภายในหญ้าหวานที่ให้ความหวาน และเป็นไปตามเกณฑ์ความบริสุทธิ์ที่กำหนดโดย JECFA (WHO) การศึกษาทางคลินิกได้แสดงให้เห็นว่า หญ้าหวานมีความปลอดภัยสำหรับใช้ในผู้ป่วยเบาหวาน การศึกษาในมนุษย์เกี่ยวกับการเผาผลาญและความเป็นพิษในหญ้าหวานยังได้รับการยืนยันว่ามีความปลอดภัยอีกจาก งานวิจัยที่ตีพิมพ์โดยผู้เชี่ยวชาญทางวิทยาศาตร์อัสระทั่วโลกรวมถึงในสหรัฐอเมริกาด้วย

2.น้ำตาลเทียม อะซีซัลเฟม-เค (acesulfame-K)

โพแทสเซียม Acesulfame เป็นสารที่ให้ความหวานที่ไม่ใช่แคลอรี่ มีรสหวานที่สะอาดและเสถียรอย่างดีเยี่ยมภายใต้อุณภูมิที่สูงและมีความสามารถในการละลายได้ดีอีกด้วย และในปี 1998 Acesulfame K ก็ได้รับการอนุมัติจาก US FDA ให้ใช้ในเครื่องดื่มได้ โดนที่ไม่ไม่มีแอลกอฮอลร์ และในปี 2003 ก้ได้รับอนุญาติให้สามารถนำไปใช้ได้ทั่วไปจากคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญร่วมด้านวัตถุเจือปนอาหาร (JECFA) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ปรึกษาทางวิทยาศาสตร์ขององค์การอนามัยโลก และมีการตรวจสอบจากงานวิจัยที่มรอยู่เกี่ยวกับ Acesulfame K และได้ระบุว่าปลอดภัย

3.น้ำตาลเทียม แอสปาร์แตม (aspartame)

แอสปาร์แตม (Aspartame) สารให้ความหวานแคลอรี่ต่ำ ที่มีรสชาติคล้ายน้ำตาล แต่มีความหวานมากกว่า ซูโครสประมาณ 200 เท่า เป็นสารให้ความหวานแคลอรี่ต่ำที่สลายในร่างกาย 100% และได้รับการอนุมัติจากองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกาในปี 1981 และมาตรฐานอาหารออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ (FSANZ) และหน่วยงานที่กำกับดูแลในประเทศอื่นๆ อีกด้วย
มีการพูดถึงอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับผลเสียของ น้ำตาลเทียม แอสปาร์แตม (Aspartame) ในสัตว์ทดลองขนาดเล็กอย่างหนู แต่การพูดถึงเหล่านั้นก็ได้โดนพิสูจน์จากหลายงานวิจัยแล้วว่า ผลที่เกิดกับสัตว์ทดลอง แทบจะไม่มีผลต่อมนุษย์

มีการศึกษามากมายเกี่ยวกับผลของแอสปาร์แตม (Aspartame) ซึ่งมีหลายงานวิจัยมาก ถ้าจะเขียนให้อ่านกัน คงจะยาวมากๆ ฉนั้นชีวาขอสรุปการทดลองทั้งหมดให้ฟังกัน คือการวิจัยแอสปาร์แตม (Aspartame) ส่วนใหญ่ มีผลเสียต่อสัตว์ทดลองขนาดเล็ก แต่แทบจะไม่มีงานวิจัยที่พบว่าส่งผลต่อมนุษย์เลยด้วยซ้ำ จากการที่มีผู้เสนอว่าแอสปาร์แตม (Aspartame) ส่งผลให้เกิดความอยากอาหาร ทำให้กินอาหารมากขึ้น และเกิดโรคอ้วน โดยรวมแล้ว แอสปาร์แตม (Aspartame) ค่อนข้างมีเชื่อถือได้ในการเป็นสารให้ความหวานที่ปลอดภัย สามารถบริโภคได้ ถ้าอยากรู้เรื่องของ น้ำตาลเทียม แอสปาร์แตม (aspartame) อีก เดี๋ยวชีวาจะมาเล่าให้ฟังกันอีกทีหลัง เพราะมันยาวมาก! หรือ ถ้าสนใจอยากให้ชีวารีบๆมาพูดถึงประเด็นนี้ คอมเมนต์ไว้เลย เราจะรีบทำบทความเกี่ยวกับ น้ำตาลเทียม แอสปาร์แตม (aspartame) ในทันที

4.น้ำตาลเทียม นีโอทาม (neotame)

น้ำตาลเทียม นีโอทาม (neotame) เป็นสารให้ความหวานที่ไม่มีแคลอรี่ และหวานกว่าน้ำตาลทรายแดงถึง 8,000 เท่า และยังหวานกว่าน้ำตาลเทียมด้วยกันอย่างแอสปาร์แตมถึง 40 เท่า น้ำตาลเทียม นีโอทาม (neotame) ได้รับการอนุมัติจากองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกาในปี 2002 แต่ก็ยังไม่ค่อยเป็นที่นิยมเท่าไหร่นัก

5.น้ำตาลเทียม แซ็กคาริน (saccharin)

น้ำตาลเทียม แซ็กคาริน (saccharin) ถูกค้นพบเมื่อศตวรรษก่อนและถูกใช้เป็นสารให้ความหวานที่ไม่มีแคลอรี่ในอาหารและเครื่องดื่มมานานกว่า 100 ปี นอกจากนี้ น้ำตาลเทียม แซ็กคาริน (saccharin) ยังเป็นสารให้ความหวานเทียมตัวแรกที่ถูกค้นพบอีกด้วย มีการศึกษาในสัตว์หลายการศึกษา ที่พบว่า น้ำตาลเทียม แซ็กคาริน (saccharin) ทำให้เกิดมะเร็งกระเพราะปัสสาวะได้ สหรัฐอเมริกาเลยได้ห้ามใช้ในปี 1977 แต่การห้ามนั้นได้ถูกหยุดโดยสภาคองเกรส โดยให้พักการห้ามไปก่อน และให้ใช้โดยมีป้ายเตือน และให้ศึกษา น้ำตาลเทียม แซ็กคาริน (saccharin) เพิ่มเติมอีกด้วย จนได้พบว่าผลจากน้ำตาลเทียม แซ็กคาริน (saccharin)ที่ส่งผลต่อสัตว์ขนาดเล็กในการทดลอง ไม่เกี่ยวกับมนุษย์ เนื่องจากความต่างของการข้ามสายพันธุ์ในองค์ประกอบสำคัญของปัสสาวะ
จนในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2543 กระทรวงสาธารณสุขและบริการมนุษย์ของสหรัฐอเมริกาได้ถอดน้ำตาลเทียม แซ็กคาริน (saccharin)ออกจากสารเคมีที่ก่อให้เกิดมะเร็ง และต่อมาสภาคองเกรสได้ผ่านกฎหมาย ยกเลิกประกาศเตือนที่น้ำตาลเทียม แซ็กคาริน (saccharin)น่าจะส่งผลต่อการใช้ในน้ำอัดลมและอาหารอื่นๆ ในปี 2001 สหรัฐอเมริกาได้ยกเลิกข้อกำหนดฉลากเตือนขณะที่ FDA ได้ยกเลิกไปแล้วในปี 1991 แต่ในขณะที่ประเทศอื่นๆยังสั่งห้ามใช้น้ำตาลเทียม แซ็กคาริน (saccharin)อยู่

6.น้ำตาลเทียม ซูคราโลส (sucralose)

น้ำตาลเทียม ซูคราโลส (sucralose) ถูกค้นพบเมื่อปี 1976 โดยนักวิจัยชายอังกฤษ ซึ่งเป็นสารให้ความหวานที่ไม่มีแคลอรี่เลย และให้ความหวานมากกว่าน้ำตาลถึง 600 เท่า เนื่องจากน้ำตาลเทียม ซูคราโลส (sucralose) มีเอกลักษณ์ของรสชาติที่เหมือนน้ำตาลและมีความเสถียรที่ถือได้ว่ายอดเยี่ยม น้ำตาลเทียม ซูคราโลส (sucralose) เลยถูกนำไปใส่อาหารแทนน้ำตาลเกือบทุกประเภท เพราะน้ำตาลเทียม ซูคราโลส (sucralose) สามารถทนความร้อนได้ องค์การอาหารและยาได้อนุมัติน้ำตาลเทียม ซูคราโลส (sucralose) ให้ใช้ในอาหารและเครื่องดื่มได้ 15 ชนิด ในปี 1998 และอนุมัติใช้ได้ทั่วไปในปี 1999 แต่อย่างไรก็ดี ก็ยังมีความกังกลต่อ น้ำตาลเทียม ซูคราโลส (sucralose) เพราะว่าเป็นสารเคมีประเภทที่เรียกว่าคลอไรด์อินทรีน์ ซึ่งบางชนิดมีพิษ และอาจก่อมะเร็งได้ อย่างไรก็ดี การมีคลอรีนในสารประกอบอินทรีย์ไม่ได้รับประกันความเป็นพิษแต่อย่างใดเลย วิธีเผาผลาญน้ำตาลเทียม ซูคราโลส (sucralose) อาจบ่งบอกถึงการลดความเสี่ยงของคววามเป็นพิษได้ น้ำตาลเทียม ซูคราโลส (sucralose) ถือว่าเป็นน้ำตาลเทียมที่ปลอดภัยสำหรับทุกคนโดยเฉพาะคนที่เป็นเบาหวาน จากการวิจัย 3 เดือน กับผู้ป่วยเบาหวาน 128 ซึ่งให้น้ำตาลเทียม ซูคราโลส (sucralose) ในขนาดถึง 3 เท่าของการบริโภคสูงสุดต่อวันที่แนะนำ พบว่า ไม่มีผลเสียต่อการควบคุมน้ำตาลแต่อย่างใด

น้ำตาลเทียมแต่ละชนิดที่กล่าวมาได้มีการยอมรับจากองค์การอาหารและยาทั้งในสหรัฐและยุโรป และได้มีการบริโภคอย่างแพร่หลาย แต่ก็ยังมีการศึกษาจำนวนนึง แสดงให้เห็นผลข้างเคียงของน้ำตาลเทียมเหล่านี้ แต่การศึกษาส่วนใหญ่ค่อนข้างมีข้อจำกัดที่เยอะอยู่ เช่นผลการทดลองที่เกิดเฉพาะในสัตว์ทดลองขนาดเล็ก ไม่ได้มีผลต่อมนุษย์ ซึ่งน้ำตาลเทียม อันตรายไหมนั้น ได้มีการตรวจสอบอย่างละเอียดจากหน่วยงานที่กำกับดูแลเรื่องนี้อยู่เช่น FDA , JECFA และ FSANZ ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งตัวแทนจำหน่ายน้ำตาลเทียมบางรายได้รับใบอนุญาตแต่มาพร้อมป้ายเตือนในปริมาณที่จำกัด อย่างไรก็ตาม น้ำตาลเทียม อันตรายไหมนั้นยังจำเป็นต้องสำรวจเพิ่มเติมอีกมาก เพื่อหาผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นจริงๆ ไม่ใช่จากบุคคลที่เชื่อว่าเป็นโรคนี้ เกิดจากการกินน้ำตาลเทียม เพียงเท่านั้น

ส่องน้ำตาลเทียมในน้ำอัดลม ที่นิยม แต่ละยี่ห้อใช้อะไรบ้าง

 

โค้ก Zero มีการใช้น้ำตาลเทียมอย่าง อะซีซัลเฟม-เค และ ซูคราโลส ที่ได้รับการอนุมัติจากองค์การอนามัยโลก ฉนั้น ปลอดภัย

โค้ก Zero

โค้ก Zero มีการใช้น้ำตาลเทียมอย่าง อะซีซัลเฟม-เค และ ซูคราโลส ที่ได้รับการอนุมัติจากองค์การอนามัยโลก ฉนั้น ปลอดภัย

น้ำตาลเทียม ใน เป๊บซี่ แม็ก

เป๊ปซี่ แม็ก

เป๊ปซี่ แม็ก มีการใช้น้ำตาลเทียมอย่าง แอสปาแตม และ อะซิซัลเฟม โพแทสเซียม (อะซีซัลเฟม-เค) ที่ได้รับการอนุมัติจากองค์การอนามัยโลก ฉนั้น ปลอดภัย

น้ำตาลเทียม ในเอส โคล่า ชูการ์ฟรี

เอส โคล่า ชูการ์ฟรี

เอส โคล่า ชูการ์ฟรี มีการใช้น้ำตาลเทียมอย่าง อะซีซัลเฟม-เค และ ซูคราโลส ที่ได้รับการอนุมัติจากองค์การอนามัยโลก ฉนั้น ปลอดภัย

น้ำตาลเทียม ในสิง มะนาวโซดา

สิงห์ มะนาวโซดา

สิงห์ มะนาวโซดา มีการใช้น้ำตาลเทียมอย่าง แอสปาแตม และ อะซิซัลเฟม โพแทสเซียม (อะซีซัลเฟม-เค) ที่ได้รับการอนุมัติจากองค์การอนามัยโลก ฉนั้น ปลอดภัย

น้ำตาลเทียม กระตุ้นอินซูลิน หรือไม่

อินซูลิน สิ่งที่คนที่เป็นเบาหวานขาดไม่ได้เลย หลายคนเลยสงสัยว่า น้ำตาลเทียมจะส่งผลต่อระดับอินซูลินหรือไม่ หรือจะทำให้ดื้ออินซูลินหรือเปล่า มีหลายงานวิจัยเกี่ยวกับน้ำตาลเทียมที่ส่งผลต่ออินซูลิน พบว่า คนเป็นเบาหวานที่ทานน้ำตาลเทียม มีความต้านทานต่ออินซูลิน แต่อย่างไรก็ดี จำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติม มากกว่านี้ เพื่อหาผลกระทบที่สัมพันธ์กันโดยตรงของน้ำตาลเทียมนี้

น้ำตาลเทียม กระตุ้นอินซูลิน หรือไม่

อินซูลิน สิ่งที่คนที่เป็นเบาหวานขาดไม่ได้เลย หลายคนเลยสงสัยว่า น้ำตาลเทียมจะส่งผลต่อระดับอินซูลินหรือไม่ หรือจะทำให้ดื้ออินซูลินหรือเปล่า มีหลายงานวิจัยเกี่ยวกับน้ำตาลเทียมที่ส่งผลต่ออินซูลิน พบว่า คนเป็นเบาหวานที่ทานน้ำตาลเทียม มีความต้านทานต่ออินซูลิน แต่อย่างไรก็ดี จำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติม มากกว่านี้ เพื่อหาผลกระทบที่สัมพันธ์กันโดยตรงของน้ำตาลเทียมนี้

ซูคลาโลส

มีการศึกษาในสัตว์และมนุษย์ ที่ชี้ให้เห็นถึงความเชื่อมโยงระหว่างการกินซูคลาโลสและระดับน้ำตาลที่เพิ่มขึ้น จึงมีการศึกษาด้วยการฉีดซูคลาโลสเข้าสู่กระผ่านปาก กลับพบว่า ไม่พบการเพิ่มขึ้นของระดับอินซูลินแต่อย่างใด

แอสปาร์แตม

เป็นน้ำตาลเทียมที่มีการถกเถียงกันมากที่สุด แต่ก็ไม่มีการศึกษาที่เชื่อมโยงการกินน้ำตาลเทียมกับระดับอินซูลินที่เพิ่มขึ้นแต่อย่างใด

แซ็กคาริน

นักวิทยาศาสตร์ได้ตรวจพบว่าการกระตุ้นตัวระบเบาหวานด้วยแซ็กคาริน นำไปสู่การเพิ่มขึ้นของอินซูลินหรือไม่ ผลคือ ระดับอินซูลินสูงขึ้น แม้ไม่ได้กลืนแซ็กคาริน

อะซีซัลเฟมโพแทสเซียม (อะซีซัลเฟม-เค)

มีการศึกษาในหนู พบว่าเมื่อฉีดอะซีซัลเฟมโพแทสเซียมเข้าไป ส่งผลให้ระดับอินซูลินเพิ่มขึ้นอย่างมาก แต่ผลต่อระมนุษย์ ไม่ส่งผลใดๆ

น้ำตาลเทียม เบาหวานทานได้ไหม

ได้คำตอบกันไปแล้วว่าน้ำตาลเทียมอันตรายไหม ทีนี้มาดูว่าคนเป็นเบาหวานทานได้ไหม น้ำตาลเทียมมีสารให้ความหวานแทนน้ำตาล  อันตรายไหมต่อคนเป็นหวาน คำตอบคือ ไม่ในบางชนิด เพราะว่าน้ำตาลเทียมเหล่านี้เป็นสารให้ความหวานแทนน้ำตาล แคลอรี่ต่ำ และน้ำตาลเทียม ไม่ใช่สารอาหาร จึงให้ความหวานแบบไม่มีแคลอรี่ น้ำตาลเทียมให้ความหวานกว่าน้ำตาลหลายเท่า แต่ถึงอย่างนั้น ก็มีการค้นพบว่าการกินน้ำตาลเทียม บางชนิด อาจส่งผลต่อการดื้ออินซูลินได้ แต่การทดลองก็ยังมีข้อจำกัดอยู่หลายอย่าง และผลต่อมนุษย์ก็ยังไม่ได้มีผลแน่ชัดเท่าไหร่ เพราะการทดลองส่วนใหญ่จะทดลองในสัตว์ขนาดเล็ก ซึ่งไม่เหมือนกันร่างกายมนุษย์ เป็นเบาหวาน สามารถทานน้ำตาลเทียมได้ แต่ก็ไม่ควรทานเยอะจนเกินไป เพราะยังไม่ได้มีงานวิจัยที่แสดงให้เห็นว่าปลอดภัย 100% ถ้าจะเลือกทานน้ำตาลเทียม ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญจะดีที่สุด

สมุนไพรรักษาเบาหวาน

ชีวาออร์แกนิค สมุนไพรรักษาเบาหวานที่มีส่วนผสมจากผักเชียง ที่ได้ชื่อว่าราชินีผักพื้นบ้านจากทางภาคเหนือ และอบเชย รวมอยู่ในแคปซูลเดียว มีทั้ง สมุนไพรชีวา ชนิดแคปซูล   หรือ สมุนไพรชีวา ชนิดชาชง  เลือกทานได้ตามที่ชอบ

คอมเมนต์

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ