ชาใบหม่อน กินตอนไหนดี โดยเฉพาะอยากผอมและคนเป็นเบาหวาน

ชาใบหม่อน กินตอนไหนดี โดยเฉพาะอยากผอมและคนเป็นเบาหวาน

สารบัญเนื้อหา

ต้นหม่อน หรือ มัลเบอร์รี่ (Mulberry) ถือว่าเป็น Superfoods เพราะในผลมัลเบอร์รี่จากต้นหม่อนนั้น เต็มไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุเข้มข้น แต่ต้นหม่อน ไม่ได้มีดีแค่ผลมัลเบอร์รี่เท่านั้น เพราะมีการนำใบหม่อนไปใช้ในการแพทย์แผนโบราณมาหลายศตวรรษแล้ว เพราะใบหม่อนนั้นเต็มไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการที่สูง และยังมีสารต้านอนุมูลอิสระ และวิตามินอื่นๆ อีกมากมายอีกด้วย แถมยังมีการนำใบหม่อนไปทำเป็นชา ใบหม่อน เพื่อใช้ลดระดับน้ำในเลือด ของคนที่เป็นเบาหวานอีกด้วย

ชาใบหม่อน กินตอนไหนดี

ชาใบหม่อนนั้น เป็น 1 ในชาที่ไม่มีคาเฟอีน แถมยังมีความหวานจากธรรมชาติที่ไม่เป็นอันตรายต่อคนที่เป็นเบาหวานอีกด้วย การที่จะรู้ว่าชาใบหม่อน กินตอนไหนดี นั้นเราจะเน้นไปที่การดื่มชาทั่วๆ ไปที่ไม่มีคาเฟอีน โดยปกติแล้ว ชาที่ไม่มีคาเฟอีนจะสามารถดื่มได้ตลอดทั้งวัน แต่จะมีช่วงเวลาที่เหมาะสมในการดื่มอยู่ ควรดื่มตอนไหนบ้าง ไปดูกัน

ดื่มชา ตอนเช้าดียังไง

เนื่องจากร่างกายที่ได้พักผ่อนในช่วงกลางคืนจะค่อยๆ ขาดน้ำ และทำให้เลือดข้นขึ้น การดื่มชาเบาๆในตอนเช้า จึงเป็นช่วงเวลาที่เพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่ร่างกาย ลดความดันโลหิต ทำความสะอาดกระเพาะอาหาร ทำให้การย่อยอาหารมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 

ดื่มชา ตอนบ่ายดียังไง

การดื่มชาช่วงบ่าย ประมาณ 15.00 น. เป็นประโยชน์อย่างมาก โดยเฉพาะคนที่เป็นความดันโลหิต  เพราะช่วงเวลานี้ร่างกายมีอุณสูงสุด การดื่มชาช่วงเลยนี้ทำให้ร่างกายเย็นลง และการดื่มชาช่วงนี้ยังช่วยเพิ่มระบบภูมิคุ้มกัน ป้องกันไข้หวัดใหญ่ แถมยังลดไขมันในเลือดอีกด้วย 

ดื่มชา ตอนเย็นดียังไง

ช่วงเวลานี้ไม่แนะนำสำหรับชาอื่นๆที่มีคาเฟอีน แต่ถ้าถามว่า ชาใบหม่อน กินตอนไหนดี แนะนำเป็นช่วงเย็น 20.30 น. จะดีที่สุด เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายคุณอยู่จุดที่สูงที่สุด และการดื่มชา ใบหม่อนช่วงนี้ยังช่วยซ่อมแซมระบบภูมิคุ้มกันได้ดีอีกด้วย แถวยังช่วยในการสร้างเซลล์ในร่างกายอีกด้วย

ชา ใบหม่อน สรรพคุณ มีอะไรบ้าง

1.ลดน้ำหนัก

มีการศึกษาในสัตว์ทดลองพบว่า การใช้ชา ใบหม่อนมีส่วนช่วยระงับการเพิ่มของน้ำหนัก จากการกินอาหารที่มีไขมันสูงได้ และยังพบว่ามวลไขมันในร่างกายของสัตว์ทดลองก็ลดลงเช่นกัน และยังมีการวัดผลทางมนุษย์วิทยาที่ได้รับการยืนยันแล้วว่า ชา ใบหม่อนมีส่วนช่วยลดขนาดของไขมันอย่างมีนัยสำคัญอีกด้วย

2.ต้านการอักเสบ

มีการศึกษาในสัตว์ทดลองพบว่าชา ใบหม่อนมีส่วนช่วยลดการอักเสบของโปรตีน และยังช่วยช่วยความเสียหายของดีเอ็นเอได้

3.ลดความดันโลหิต

มีการทดลองในสัตว์ทดลองหลายฉบับเกี่ยวกับการใช้ชา ใบหม่อนลดความดันโลหิต และผลก็ออกมาคล้ายๆ กัน ซึ่งการศึกษาส่วนใหญ่พบว่าชา ใบหม่อนอาจมีส่วนช่วยในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และการดื้อต่ออินซูลิน และยังช่วยฟื้นฟูเซลล์ตับอ่อนในสัตว์ทดลองที่เป็นเบาหวานอีกด้วย

4.ป้องกันหลอดเลือด

มีการทดลองในหลอดทดลอง พบว่าชา ใบหม่อนมีส่วนช่วยลดการสะสมของไขมันเลว (LDL) ในผนังหลอดเลือดได้ และยังยับยั้งการแพร่กระจายของเซลล์กล้ามเนื้อ และยังช่วยฟื้นฟูระดับการไหลเวียนของเลือดได้อีกด้วย นอกจากชา ใบหม่อนจะช่วยลดปริมาณไขมันในหลอดเลือดแล้ว ยังช่วยป้องกันการเกิดคราบจุลินทรย์ในหลอดเลือดในระยะยาวอีกด้วย

5.ป้องกันโรคหัวใจ

มีการทดลองใช้ใบหม่อนรักษาสัตว์ทดลองทุกวัน พบว่า มีการฟื้นฟูความเสียหายของกล้ามเนื้อหัวใจได้ และยังสามารถรักษาระดับการเต้นของหัวใจได้อีกด้วย นอกจากนี้การศึกษายังพบว่า ใบหม่อนมีส่วนช่วยรักษาการไหลเวียนโลหิตของหัวใจ โดยการย้อนกลับกล้ามเนื้อหัวใจที่ตาย ซึ่งบ่งบอกว่าใบหม่อนสามารถป้องกันโรคหัวใจได้อีกด้วย

6.อาจรักษาเบาหวาน

ในใบหม่อนมีสารที่ช่วยป้องกันการดูดซึมของคาร์โบไฮเดรตในลำไส้ มีการศึกษาในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โดยให้ทานสารสกัดจากใบหม่อน 1,000 มก. วันละ 3 ครั้ง พร้อมมื้ออาหาร เป็นเวลา 3 เดือน พบว่า ระดับน้ำตาลในเลือดหลังอาหารลดลงอย่าางมีนัยสำคัญ

7.แก้ไข้หวัด

ชา ใบหม่อนสามารถกำจัดการเจริญเติบโตของแบคทีเรียซึ่งเป็นเป็นตัวการของไข้หวัดได้

ชาใบหม่อน อันตรายไหม

เป็นคำถามที่ผู้คนหลายคนอาจสงสัยเกี่ยวกับการดื่มชาใบหม่อน อันตรายไหม คำตอบคือ ไม่อันตราย ถ้าดื่มประมาณ 1-2 แถ้วต่อวัน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ในแต่ละบุคคลมีความไวต่อสารอาหารไม่เหมือนกัน บางคนอาจไวต่อการดื่มชาใบหม่อน ถ้าดื่ม 1 แก้ว แล้วมีอาการผิดปกติเช่น เวียนหัว ให้หยุดกินและปรึกษาผู้เชี่ยวชาญก่อนจะดีที่สุด
นอกจากนี้คนที่กินยาเบาหวานอยู่ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญก่อน เพราะชา ใบหม่อนมีผลต่อน้ำตาลในเลือด หรือ จะปรึกษาเภสัชของทางชีวาก็ได้ เพราะเราให้คำปรึกษาฟรึ โทร 02-123-3866

โทษของชาใบหม่อน

1.อาจทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ

เนื่องจากชาใบหม่อนมีส่วนช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด การดื่มชาใบหม่อนจึงไม่ควรดื่มเยอะจนเกินไป ฉนั้นถ้ายังไม่เคยดื่มชาใบหม่อน ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญก่อน และเตรียมลูกอม เผื่อไว้ในกรณีที่เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ

2.อาจทำให้ระบบย่อยอาหารไม่ปกติ

ชาใบหม่อนอาจทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์อย่าง การเวียนหัว คลื่นไส้ ท้องเสีย และ ท้องอืดได้ ถ้าเกิดมีอาการให้หยุดดื่มซักพักก่อน

4.อาจทำให้ร่างกายขาดคาร์โบไฮเดรต

เนื่องจากใบหม่อนมีส่วนในการขัดขวางการดูดซึมของคาร์โบไฮเดรต ซึ่งเป็นส่วนช่วยในการลดน้ำหนักและรักษาเบาหวาน แต่ถ้าดื่มมากเกินไปอาจนำไปสู่ผลเสียแทนผลดี

5.อาจส่งผลเสียต่อไต

ใบหม่อนอาจมีส่วนช่วยในการลดระดับของกรดยูริค บรรเทาอาการของโรคเกาต์ ดังนั้นถ้าใช้ยาโรคเกาต์อยู่ควรหยุดดื่มชาใบหม่อน และอีกอย่างในชาในหม่อนมีโพแทสเซียมสูง ซึ่งอาจทำให้ร่างกายเกิดอาการขาดน้ำ และ เกิดเลือดออกภายในได้ และนอกจากนี้ระดับโพแทสเซียมที่สูงเกินไป อาจทำให้เกิดการเวียนหัว คลื่นไส้  เมื่อยล้า เจ็บหน้าอก ใจสั่น หัวใจเต้นผิดปกติ ดังนั้น ผู้ที่เป็นโรคไตเรื้อรัง อาจจะต้องจำกัด หรือ เลี่ยงการบริโภคชาใบหม่อนจะดีกว่า

วิธีชงชาใบหม่อนสด

วัตถุดิบ

  • น้ำเย็น 4 ถ้วยตวง
  • ใบหม่อนแห้ง 2 ช้อนโต๊ะ
  • น้ำผึ้ง 1 ช้อนชา (เพื่อให้หวานหากต้องการ ไม่แนะนำต่อสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน)

วิธีทำ

  1. ล้างทำความสะอาดใบหม่อน
  2. หั่นใบหม่อนให้มีขนาดพอเหมาะ
  3. นำไปนึ่งไอน้ำเดือด ประมาณ 1-2 นาที (ระวังอย่าให้ใบหม่อนเป็นสีน้ำตาล)
  4. คั่วในกระทะด้วยไฟอ่อนๆ ประมาณ 20 นาที
  5. นำไปอบที่อุณภูมิ 80 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 1 ชั่วโมง
  6. เสร็จแล้วชงดื่มตามปกติ

สรุป

ชาใบหม่อน กินตอนไหนดี นั้น แบ่งได้ 2 เวลา คือ ช่วงเช้าตอนตื่นนอน เพื่อทำความสะอาดลำไส้ หรือ ช่วงเย็นประมาณ 20.30 น. เพื่อซ่อมแซมระบบภูมิคุ้มกัน ที่ไม่นับช่วงบ่าย เพราะ ว่า บ่ายกับเย็นมีส่วนช่วยเหมือนๆกัน แต่ช่วงเย็นจะดีที่สุดในการช่วยซ่อมแซมระบบภูมิคุ้มกัน (ไม่แนะนำสำหรับชาอื่นๆที่มีคาเฟอีน) แต่ถ้าเกิดอาการไม่พึ่งประสงค์ให้หยุดกินทันที หรือถ้าเป็นเบาหวานแล้วอยากกินชาในหม่อน ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญก่อน หรือเตรียมลูกอมไว้ด้วย เผื่อเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ จะได้รับมือทัน ด้วยความห่วงใยจาก ชีวาออแกนิค ผู้จัดจำหน่าย ผักเชียงดาลดระดับน้ำตาล และชาผักเชียงดาผสมใบหม่อน ที่ดีต่อคนเป็นเบาหวาน

Youtube

คอมเมนต์

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ