ส่องงานวิจัย 9 สมุนไพรลดน้ำตาลในเลือด ธรรมชาติบำบัด

ส่องงานวิจัย 9 สมุนไพรลดน้ำตาลในเลือด ธรรมชาติบำบัด

สารบัญเนื้อหา

สมุนไพรลดน้ำตาลในเลือดได้จริงหรือ คำตอบคือลดน้ำตาลได้จริง แต่ไม่ใช่สมุนไพรทุกตัวที่จะมีคุณสมบัตินี้ เพราะคำว่า “สมุนไพร” หมายถึง สารสกัดดั้งเดิมจากพืชและสัตว์ที่ใช้แปรสภาพหรือผสมหรือปรุงอาหารเพื่อการบำบัด รักษา และป้องกันโรค ซึ่งวิธีการรักษาโณคเบาหวานจะไม่ใช่แค่การลดน้ำตาลในเลือดเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ต้องทำให้ร่างกายปราศจากสารเคมีอื่นๆ ที่อาจทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนด้วย

ส่องงานวิจัย 9 สมุนไพรลดน้ำตาลในเลือด

9 สมุนไพรลดน้ำตาลในเลือด ธรรมชาติบำบัด

9 สมุนไพรลดน้ำตาลในเลือด ต่อไปนี้ ถือว่าเป็นการลดน้ำตาลในเลือดแบบ ธรรมชาติที่มีงานวิจัยรับรอบ จากต่างประเทศ แต่สำหรับบางอย่างอาจมีการวิจัยที่ค่อนข้างน้อยอยู่ เพราะไม่ค่อยเป็นที่นิยม แต่สมุนไพรบางอย่างก็เต็มไปด้วยงานวิจัยมากมาย ที่ทำให้มั่นใจได้ว่าสมุนไพรนั้นสามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดได้
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น การกินอะไรที่มากเกินไป ไม่เคยดีต่อสุขภาพ ควรกินแต่พอดี และกินให้หลากหลายจะดีที่สุด
โน๊ต อาหารเสริมที่ทำจากสมุนไพรต่างๆ ควรมีสมุนไพร 2 ชนิดขึ้นไป เพราะถ้ากินสมุนไพรชนิดเดียวเป็นเวลานานๆ อาจทำให้เกิดอาการที่เรียกว่า ดื้อยา ทำให้สมุนไพรไม่มีผลเหมือนตอนกินแรกๆ

1.ใบหม่อน

ใบหม่อน (Mulberry) ชื่อวิทศาสตร์ Morus alba มีถิ่นกำเนิดแถบประเทศจีน เริ่มแรกนั้นชาวจีนค้นพบว่าหนอนไหมชอบกินใบหม่อน และยิ่งหนอนไหมกินใบหม่อนมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งผลิตผ้าไหมได้มากขึ้น ชาวจีนเลยนำหม่อนมาปลูกเพื่อเพิ่มผลผลิตผ้า ไม่มีบันทึกว่าเริ่มนำใบหม่อนมากินตอนไหน
ใบหม่อน นิยมนำมา แก้ร้อนใน แก้เจ็บขอ รักษาไข้ และรักษาโรคต่างๆอีกมากมาย รวมถึงแก้ความดันโลหิตสูงอีกด้วย

นอกจากนี้ยังมีการศึกษาการใช้สารสกัดจากใบหม่อนมารักษาเบาหวาน พบว่า สาร MLF ในใบหม่อนมีส่วนช่วยปรับปรุงการดื้อต่ออินซูลินของกล้ามเนื้อตามร่างกายได้อย่างมีนัยสำคัญ

2.ตำลึง

ตำลึง (Ivy gourd) ชื่อวิทยาศาสตร์เรียกว่า Coccinia grandis L. Voigt มีถิ่นกำเนิดแถวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นิยมนำมาใช้รักษาไข้ หอบหืด ดีซ่าน และควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
มีการศึกษาที่บ่งบอกว่าตำลึง อาจมีส่วนช่วยป้องกันโรคอ้วน และลดระดับน้ำตาลในเลือดได้อย่างมีนัยสำคัญ

3.กระเทียม

กระเทียม (Garlic) ถูกใช้ตั้งแต่วัฒนธรรมอียิปต์ เมื่อ 5,000 ปีก่อน แต่มีหลักฐานการใช้กระเทียมที่แน่ชัดคือ เมื่อ 4,500 ปีก่อน โดยชาวบาบิโลน
กระเทียมได้ชื่อว่าสมุนไพรที่เต็มไปด้วยสรรพคุณมากมายที่ดีต่อร่างกาย และปลอดภัย มีการศึกษาและวิจัยจำนวนมากที่บ่งบอกว่ากระเทียม ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลและความดันโลหิตสูงได้ นอกจากนี้กระเทียมยังช่วยลดโรคหัวใจและโรคเบาหวานได้อีกด้วย

ถึงแม้ว่ากระเทียมจะเต็มไปด้วยสรรพคุณมากมาย แต่ก็ยังมีข้อเสียอยู่บางอย่างเช่น แก๊สในกระเพราะ คลื่นไส้ ท้องร่วง อาเจียน และถ้ากินยาเกี่ยวกับเลือดอยู่ ควรปรึกษาแพทย์ก่อน เพราะกระเทียมอาจส่งผลต่อยาเหล่านั้นได้

4.ขิง

เชื้อกันว่า ขิง (Ginger) ถูกนำมาใช้เป็นรากยาชูกำลังในประเทศอินเดีย และ ประเทศจีนมานานกว่า 5,000 ปี เพื่อรักษาโรคต่างๆมากมาย
ขิงเป็นสมุนไพรที่ขึ้นชื่อว่าดีต่อสุขภาพ และสามารถรักษาได้ทุกโรคตั้งแต่หวัดธรรมดาๆ รักษาอาการคลื่นไส้ ควบคุมระดับน้ำตาลในนเลือด และป้องกันโรคหัวใจ
มีการศึกษาที่แสดงให้เห็นว่าขิงอาจมีส่วนช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดและช่วยควบคุมการตอบสนองของอินซูลินในคนที่เป็นเบาหวาน และลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากเบาหวานได้

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าขิงจะมีประโยชน์ แต่ขิงมีผลข้างเคียง อาจทำให้ปวดท้อง หรือ ท้องเสียได้ ในคนทั่วไปไม่ควรกินขิงเกิน 4 กรัมต่อวัน และในผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์ ไม่ควรกินขิงเกิน 1 กรัมต่อวัน หรือ ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนกินขิง เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง

5.มะระขี้นก

มะระขี้นก (bitter gourd) เถาองุ่นเขตร้อน ที่นิยมนำมากินแก้โรคต่างๆ อย่างแพร่หลายในเอเชีย เนื่องจากมะระขี้นกมีสารอาหารที่ดีต่อสุขภาพมากมาย จึงมีการนำมะระขี้นกมาใช้รักษาในทางการแพทย์ทางเลือกที่หลากหลายรูปแบบ
มีการศึกษาที่พบว่ามะระขี้นกมีส่วนช่วยลดน้ำตาลกลูโคสในอาหาร ป้องกันตับ และไต ลดความเครียดจากปฏิกิริยาออกซิเดชั่น สามารถช่วยลดภาวะแทรกซ้อนของเบาหวานได้ แต่ถึงอย่างนั้น การศึกษาและวิจัยค่อนข้างเฉพาะกลุ่มทดลองขนาดเล็ก และยังขาดการทดลองที่กว้างขวางกว่านี้

ถึงแม้ว่ามะระขี้นกจะมีประโยชน์หลายๆอย่าง และนิยมนำมาใช้ในการแพทย์ทางเลือก แต่มะระขี้นก ไม่ได้รับอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (FDA) ในการใช้รักษาเบาหวาน หรือ ใช้ในทางการแพทย์อื่นๆ

6.ว่านหางจระเข้

ว่านหางจระเข้ (Aloe Vera) ถือกำเนิดขึ้นแถวชายฝั่งของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ตอนใต้ของทวีปแอฟริกา และได้เรริ่มแพร่พันธุ์มาทางยุโรปเอเชีย จนเกิดเป็นว่านหางจระเข้กว่า 300 สายพันธ์
ว่านหางจระเข้ได้รับความนิยมอย่างมากในการนำมาทา เป็นยาฆ่าเชื้อบนบาดแผล โดยเฉพาะแผลไฟไหม้ โดยตัวว่านหางจรเข้จะช่วยฆ่าเชื้อ สมานแผล ห้ามเลือด และยังช่วยกรตุ้นเซลล์เนื้อเยื่อให้เจริญเติบโต ทำให้แผลหายเร็วขึ้นอีกด้วย

นอกจากนี้ว่านหางจรเข้ เมื่อนำมาทาน ยังมีประโยชน์ต่อสุขภาพและร่างกายอีกด้วย เพราะว่านหางจระเข้ ช่วยรักษาท้องผูก บำรุงสุขภาพฟัน ช่วยระบบย่อยอาหาร ลดระดับน้ำตาลในเลือด และช่วยเบาหวานได้
เนื่องจากว่านหางจรเข้มีส่วนช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ทั้งลดค่าน้ำตาลสะสม (HbA1c) และ ลดค่าน้ำตาลรายวัน (FBS) ลดระดับไขมันเลว (LDL) ในหลอดเลือด ปรับปรุงไขมันดี (HDL) แถมยังลดระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์อย่างมีนัยสำคัญ
แต่ให้ระวังให้คนที่เป็นเบาหวานและกินยาเบาหวานอยู่ เพราะว่านหางจรเข้ อาจทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำได้

7.ใบกะเพรา

กะเพรา (Holy basil หรือ Basil) Holy มาจากคำว่า ศักสิทธิ์ เพราะกะเพราเกิดขึ้นจำนวนมากบริเวณวัดประเทศอินเดีย เลยได้ชื่อว่า Holy basil หรือจะเรียกรวมๆว่า Basil เลยก็ได้
กะเพรามีถิ่นกำเนิดแถวเอเชียวตะวันออกเฉียงใต้ หรือโซนๆประเทศไทยบ้านเรานั่นเอง เป็นธรรมาดาในบ้านเราอยู่แล้วที่นำกะเพรามาทำอาหาร ถือว่าเป็นเมนูยอดฮิตเลยก็ว่าได้ แต่รู้หรือไม่ ในประเทศอินเดีย กะเพราถูกนำไปใช้เป็นยาเพื่อรักษาโรคต่างๆ นาๆมากมาย มีการใช้ตั้งแต่เมล็ด ดอก น้ำมันกะเพรา และใบ ใช้รักษาตั้งแต่ แมลงสัตว์กัดต่อย ท้องเสีย อาเจียน ไปจนถึงแผลในกะเพราอาหาร และเบาหวาน

โดยมีการศึกษาในมนุษย์ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 โดยบ่งบอกว่า ทุกส่วนของกระเพรา สามารถช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้
และยังมีการศึกษาในหนูโดยให้สารสกัดจากใบกระเพราเป็นเวลา 30 วัน พบว่า น้ำตาลในเลือดของหนูลดลงร้อยละ 56.4 เลยทีเดียว
นอกจากกระเพราจะช่วยลดน้ำตาลในเลือดแล้ว กระเพรายังช่วยลดคอเลสเตอรอล ที่เป็นสาเหตุของเบาหวานชนิดที่ 2 อีกด้วย

8.ย่านาง

ย่านาง ชื่อวิทยาศาสตร์ Tiliacora triandra มีถิ่นกำเนิดที่แถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือโซนบ้านเรานั่นเอง
ย่านางถือว่าเป็นยาอายุวัฒนะช่วยชะลอการเกิดริ้วรอย ฟื้นฟูเซลล์ต่างๆในร่างกาย ช่วยปรับสมดุลของเซลล์ในร่างกายอีกด้วย
นอกจานี้ยังมีการศึกษาจากต่างประเทศที่บ่งบอกว่าย่านางมีส่วนช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด บำรุงไต และรักษาเบาหวานได้อย่างมีนัยสำคัญอีกด้ว

9.ผักเชียงดา

ผักเชียงดา (Gymnema Inodorum) หรือที่เรียกกันว่า ผักจินดา ผักกูด ผักม้วนไก่ เป็นสมุนไพรที่พบได้ทางป่าเขตร้อนอย่าง แอฟริกา และ ออสเตรเลีย แต่ในประเทศไทยก็มีแหล่งที่สามารถหาผักเชียงดาได้ทั่วไปตามริวรั่วแถวๆ ภาคเหนือ
โดยใบของผักเชียงดามีการนำมาทำเป็นยาอายุรเวทของอินเดียมาหลายพันปีแล้ว มีการใช้รักษาตั้งแต่ งูกัด มาลาเรีย และเบาหวาน
ผักเชียงดาได้รับความนิยมอย่างมากในแพทย์ตะวันตก เพราะผักเชียงดาสามารถยับยั้งการดูดซึมของน้ำตาลในเลือดได้

เพราะในผักเชียงดามีสารที่ชื่อว่า Gymnemic Acid ที่ช่วยยับยั้งการส่งน้ำตาล และ ยังชะลอการดูดซึมในลำไส้เล็กอีกด้วย และด้วยสรรพคุณอื่นๆ ของผักเชียงดา นอกจากจะช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดแล้วนั้น ผักเชียงดายังช่วยบำรุงร่างกาย เช่น บำรุงตับอ่อน แก้ท้องผูก ชะลอความชรา แก้หอบหืด

สรุป

สมุนไพรลดน้ำตาลในเลือด หรือ อาหารเพื่อสุขภาพต่างๆ ถ้ามากเกินไปอาจส่่งผลเเสียต่อร่างกาย มากกว่าผลดีได้ เช่นการเกิด ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ในผู้ที่กินสมุนไพนลดน้ำตาลในเลือดเยอะเกินไป หรือ กินสมุนไพรลดน้ำตาลเในลือด อย่างเดียวเป็นเวลานานๆ อาจทำให้เกิดอาการที่เรียกว่า ดื้อยาได้ ฉนั้นควรกินสมุนไพร 2 ชนิดขึ้นไป เพื่อให้เกิดการเข้าคู่สมุนไพรนั่นเอง
หรืออีกกรณีคือการกินสมุนไพรคู่กับยาหมอสั่ง อาจทำให้ยาได้ผลดีเกินไป จนกลายเป็นผลเสียในที่สุด ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญก่อนเลือกทานอาหารเสริม หรือ สมุนไพร ควบคู่ไปกับยาที่หมอสั่งจะดีที่สุด

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

คอมเมนต์

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ