10 อาหารบํารุงไต ผู้สูงอายุ ควรและไม่ควร กินแบบไหน

10 อาหารบำรุงไต ผู้สูงอายุ ควรและไม่ควร กินแบบไหน

สารบัญเนื้อหา

ผู้สูงอายุ หรือ ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ตามกระราชบัญญัติผู้สูงอายุปี พ.ศ.2546 และเมื่ออายุมากขึ้น ร่างกายเกิดการเปลี่ยนแปลงเนื่องจากการใช้ร่างกายมาอย่างยาวนาน ทำให้ประสิทธิภาพอวัยวะต่างๆ ในร่างกายทำงานได้น้อยลง จากการใช้งานมายาวนาน ทำให้ร่างกายไม่สามารถซ่อมแซมตัวเองได้เหมือนช่วงอายุที่ผ่านมา ผู้สูงอายุเลยจำเป็นต้องดูแลตัวเองเป็นพิเศษทั้งร่างกาย และ จิตใจ โดยเฉพาะการดูแลและบำรุงอวัยวะภายในอย่างเช่นไต เนื่องจาก ไตเป็นอวัยวะที่ช่วยขับของเสียออกจากร่างกาย หากไตเกิดเสื่อมลงตามอายุโดยไม่มีการบำรุง อาจทำให้สารพิษตกค้างในร่างกายเป็นจำนวนมาก ร้ายแรงที่สุดคืออาจทำให้ถึงแก่ชีวิตเลยก็ได้

10 อาหารบำรุงไต ผู้สูงอายุ

มาดู อาหารบำรุงไต ผู้สูงอายุ ที่ควรกิน เพื่อให้ไตกลับมาทำงานได้ดีขึ้น และอาหาร ที่เป็นโรคไต หรือ อยากป้องกันโรคไต ไม่ควรกิน หรือกินแต่น้อย บางอย่างนั้นดีต่อสุขภาพมากถ้ากินแต่พอดี อย่าง อะโวคาโด 

เพราะอะโวคาโดนั้นดีต่อสุขภาพมาก แต่เนื่องจากอะโวคาโดมีสารอาหารบางอย่าง ที่ไม่เหมาะกับคนเป็นโรคไตเท่าไหร่ อาหารที่ห้ามในที่นี้ บางอย่างเลยไม่ได้หมายถึง กินไม่ได้เลย แค่เพียงกินแต่น้อย กินแต่พอดี

1.พริกหยวกแดง

ในพริกหยวกแดง เต็มไปด้วยไฟเบอร์ แถมยังโพแทสเซียมต่ำอีกด้วย ทำให้พริกหยวกแดงนี้ เป็นมิตรต่อไต แถมพริกหยวกแดงยังมีวิตามิน A B6 C และสารต้านอนุมูลอิสระอย่าง ไลโคปีน ที่อาจป้องกันมะเร็งบางชนิดได้ และนอกจากนี้ใยอาหารจากพริกหยวก ยังช่วยชะลอการดูดซึมน้ำตาลที่เข้าสู่กระแสเลือดได้อีกด้วย แถมวิตามินซีในพริกหยวก อาจช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ที่เป็นเบาหวานอีกด้วย

2.กะหล่ำปลี

ผักตระกูลกะหล่ำเต็มไปด้วยไฟเบอร์แถมโพแทสเซียมยังต่ำอีกด้วย นอกจากนี้ผักตระกูลกะหล่ำยังมีสารอาหารที่ดีต่อสุขภาพอย่าง กรดโฟลิก วิตามินบี 6 วิตามินเค วิตามินซี ซึ่งเป็นส่วนเสริมชั้นเยี่ยม สำหรับบำรุงไตของผู้สูงอายุอีกต่างหาก นอกจากนี้กะหล่ำปลียังมีสารต้านอนุมูลอิสระอย่างไฟโตเคมิคอล ที่ช่วยป้องกันมะเร็งบางชนิดได้อีกด้วย 

และกะหล่ำปลียังสามารถทานได้ทั้งดิบ หรือ นึง เพราะกะหล่ำปลีจะสูญเสียสารอาหารจากการนึ่งนั่นเอง และเนื่องจากกำหล่ำปลีมีใยอาหาร (Fiber) ที่ค่อนข้างสูง จึงมีส่วนช่วยลดการดูดซึมของน้ำตาลในเลือดได้ แถมยัง ช่วยให้ระบบย่อยอาหารดีขึ้น ลดความดันโลหิต และลดระดับคอเลสเตอรอล

3.กระเทียม

กระเทียมถูกใช้เป็นยาในการแพทย์ทางเลือก มามากกว่า 3,000 ปีแล้ว และในกระเทียมสดยังสามารถรักษาโรคอีกหลายชนิดเช่น ความดันโลหิต โรคหัวใจ โรคไต และเบาหวาน เป็นต้น การเพิ่มกระเทียมสดในอาหาร หรือ ถ้ากินกระเทียมเพรียวๆ ได้ในทุกๆวัน จะดีต่อร่างกายอย่างมาก

4.หัวหอม

ในหัวหอมนั้นเต็มไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระที่ดีต่อไต แถมยังมีโพแทสเซียมที่ต่ำ และนอกจากนี้หัวหอมยังช่วยต้านการอักเสบอีกด้วย และนอกจากนี้ยังมีการศึกษาที่พบว่า หัวหอมอาจมีส่วนช่วยป้องกันภาวะน้ำตาลในเลือดสูงและไขมันในเลือด ของคนที่เป็นเบาหวานอีกด้วย

5.ปลาแซลมอน

ปลาแซลมอนเป็น 1 ใน อาหารบำรุงไต ผู้สูงอายุ ที่ดีที่สุด เนื่องจากในปลาแซลม่อนมีไขมันดี (HDL) ที่สามารถต้านการอักเสบได้อย่าง โอเมก้า 3 ซึ่ง โอเมก้า 3 สามารถช่วยลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนของผู้สูงอายุที่เป็นเบาหวานได้อีกด้วย และยังมีโปรตีนคุณภาพสูง ซึ่งดีต่อหัวใจและไต อีกอย่างสมาคมโรคหัวใจอะมริกาและสมาคมโรคเบาหวานอเมริกา แนะนำให้กินปลาแซลมอนอย่างน้อยๆ 2 ครั้งต่อสัปดาห์ เพื่อบำรุงสุขภาพ

6.ไข่ขาว

ไข่ขาวถือว่าเป็นโปรตีนบริสุทธิ์คุณภาพสูง มีกรดอะมิโน และยังมีฟอสฟอรัสน้อยกว่า โปรตีนจากแหล่งอาหารอื่นๆ ไข่ขาวเลยถือว่าเป็นอาหารที่ดีที่สุดในการบำรุงตับ แหละเหมาะสำหรับคนที่เป็นโรคตับเรื้อรัง สามารถกินไข่ขาวเท่าไหร่ก็ได้ตามที่ต้องการ แต่ผู้มีปัญหาเกี่ยวกับไตให้กินเฉพาะไข่ขาว ห้ามกินไข่แดงเด็ดขาด เพราะไข่แดงมีฟอสฟอรัสที่ค่อนข้างสูง อาจส่งผลให้ไตทำงานหนักกว่าเดิมได้

7.แอปเปิ้ล

การกินผลไม้อย่างแอปเปิ้ลหลังมื้ออาหาร อาจมีส่วนช่วยป้องกันการติดเชื้อทางเดินปัสสาะ นิ่วในไต และโรคอื่นๆ ได้ แถมแอปเปิ้ลยังมีใยอาหาร (Fiber) ที่ช่วยต้านการอักเสบและช่วยในการขับถ่ายอีกด้วย นอกจากนี้ยังมีวารสารจากคลินิกโภชนาการอเมริกา ในปี 2017 ค้นพบว่า การแทนที่น้ำตาลกลูโคสหรือซูโครสด้วย น้ำตาลฟรุกโตสที่อยู่ในแอปเปิ้ล ทำให้น้ำตาลและอินซูลิน ในกระแสเลือดน้อยลง หลังมื้ออาหาร 

แถม USDA (กระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา) ยังรายงานอีกว่า ในแอปเปิ้ลขนาดกลาง มีใยอาหารประมาณ 4 กรัม ซึ่งอาจมีส่วนช่วยชะลอการดูดซึมน้ำตาลในร่างกายและอาจป้องกันน้ำตาลในเลือดที่เพิ่มขึ้นได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นในผู้ที่เป็นเบาหวาน ก็ไม่ควรกินแอปเปิ้ลเป็นจำนวนมากอยู่ดี เพราะอาจทำให้น้ำตาลสูงได้

8.บลูเบอร์รี่

ในบลูเบอร์รี่มีไฟโตนิวเทรียนท์ และสารต้านอนุมูลอิสระอย่าง แอนโธไซยานิดิน ที่ทำให้บลูเบอร์รี่เป็นสีฟ้า และในบลูเบอร์รี่ยังเต็มไปด้วย วิตามินซั ไฟเบอร์ และซีแมงกานีส ซึ่งช่วยลดริ้วรอยได้ แถมยังช่วยชะลอการเสื่อมของกระดูก และบลูเบอร์รี่ยังทำให้ร่างกาย ตอบสนองต่ออินซูลินได้มากขึ้น ซึ่งนั่นอาจหมายว่าว่า บลูเบอร์รี่นั้นดีต่อผู้ที่เป็นเบาหวานอีกด้วย แต่ถึงจะบอกว่าดี ก็ไม่ควรทานเยอะนะเพราะอะไรที่เยอะไป ไม่เคยดีต่อสุขภาพ

9.เชอร์รี่

ในเชอร์รี่เต็มไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ และไฟโตเคมิอล ซึ่งดีต่อทั้งหัวใจ และ ลดการอักเสบในร่างกายได้นอกจากนี้ยังมีการวิจัยเกี่ยวกับเชอร์รี่และคนเป็นเบาหวาน หลายการวิจัยพบว่า เชอร์รี่อาจมีส่วนช่วยควบคุมระดับน้ำตาลและลดภาวะแทรกซ้อนของเบาหวานได้อีกด้วย

10.สตรอเบอร์รี่

ในสตรอเบอร์รี่เต็มไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสรที่มีประสิทธิภาพซึ่งช่วยป้องกันโครงสร้างเซลล์ของร่างกาย และยังช่วยป้องกัารความเสียหายจากปฏิกิริยาออกซิเดชั่น (เปลี่ยนอาหารเป็นพลังงาน) และสตรอเบอร์รี่ยังเป็นแหล่งของวิตามินซี แมงกานีส และยังเป็นแหล่งของเส้นใย อีกด้วย แถมยังช่วยป้องกันหัวใจ มะเร็ง และต้านการอักเสบ แต่อย่างไรก็ตาม คนที่เป็นเบาหวาน ควรกินสตรอเบอร์รี่แต่พอดี ไม่ควรกินเยอะเกินไป เพราะสตรอเบอร์รี่มีน้ำตาล

โรคไต ห้ามกินอะไร

นอกจากอาหารบำรุงไต ผู้สูงอายุที่ควรกินเพื่อบำรุงไตแล้วนั้น ควรรู้ด้วยว่าถ้าโรคไต ห้ามกินอะไร เพราะว่าถ้าเกิดกินโดยไม่รู้ อาหารบางอย่าง อาจทำให้ไตทำงานหนักขึ้น และทำให้อาการหนักกว่าเดิมได้

1.อะโวคาโด

ถึงแม้ว่าอะโวคาโดจะมีโภชนาการมากมาย และเป็นที่แนะนำในการบำรุงสุขภาพ เพราะอะโวคาโดเต็มไปด้วยไขมันดี (HDL) ที่ดีต่อสุขภาพหัวใจ แถมยังมีไฟเบอร์และสารต้านอนุมูลอิสระที่ดีต่อร่างกายอีกด้วย แต่ เนื่องจากในอะโวคาโดมีโพแทสเซียมที่สูงมากถึว 690 มก. ต่อ 1 ลูก คนที่เป็นโรคไต ไม่ควรกินอะโวคาโดทั้งลูก แต่สามารถกินอะโวคาโด ประมาณ 1 ส่วน 4 ของอะโวคาโด 1 ลูกได้

2.อาหารกระป๋อง

อาหารกระป๋องส่วนใหญ่มีโวเดียมในปริมาณที่สูงมาก เนื่องจากมีการเติมเกลือเพื่อกันบูดและเพิ่มอายุการเก็บรักษา และโซเดียมนั้น ไม่ดีต่อไต อีกด้วย ควรเลือกอาหารกระป๋องที่ไม่เติมเกลือ หรือที่มีปริมาณโซเดียมต่ำจะดีกว่า

3.ขนมปังโฮลวีต

ขนมปังที่เป็นที่แนะนำสำหรับคนรักสุขภาพ ทางเลือกแทนขนมปังขาว แต่ไม่แนะนำถ้าอยากบำรุงไต หรือคนที่เป็นโรคไต เพราะว่าในขนมปังโฮลวีตมีปริมาณฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมมาก ยิ่งในขนมปังมีธัญพืชหรือรำข้าวมากเท่าไหร่ ประมาณฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมยิ่งสูงเท่านั้น

4.ข้าวกล้อง

ข้าวกล้องไม่ต่างจากขนมปังโฮลวีตมากนักเนื่องจากเป็นธัญพืชที่มีปริมาณโพแทสเซียมและฟอสฟอรัสสูงกว่าข้าวขาว แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็สามารถทานข้าวกล้องได้ แค่เพียงลดปริมาณลงเท่านั้น

5.กล้วย

กล้วยมีโซเดียมตามธรรมชาติที่ค่อนข้างต่ำ แต่กล้วยนั้นเต็มไปด้วยโพแทสเซียม ในกล้วย 1 ลูก มีโพแทสเซียมสูงถึง 422 มก. หากเป็นโรคไตแล้วแพทย์ให้จำกัดโพแทสเซียม ไม่ควรจะกินกล้วยเด็ดขาด

6.นม

ถึงแม้ว่านมจะเป็นแหล่งของวิตามินและสารอาหารมากมาย นมยังเป็นแหล่งของฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมจากธรรมชาติอีกด้วย โดยในนม 1 ถ้วย มีฟอสฟอรัสถึง 222 มก. และโพแทสเซียมอีก 349 มก. และถ้ากินนมร่วมกับอาหารอื่นๆที่มีฟอสฟอรัสสูง อาจเป็นอันตรายต่อไต และกระดูกอีกด้วย

7.ส้ม

ส้ม เป็นแหล่งของวิตามินซีชั้นเยี่ยม แต่ในทางกลับกับ ส้มก็เป็นแหล่งของโพแทสเซียมอีกด้วย โดยส้มขนาดใหญ่ 1 ลูก มีโพแทสเซียม 333 มก. และในน้ำส้ม 1 ถ้วย ยังมีโพแทสเซียมถึง 437 มก. อีกด้วย

8.เนื้อสัตว์แปรรูป

เนื้อสัตว์แปรรูป 1 ใน อาหารบำรุงไต ผู้สูงอายุไม่ควรจะกิน และไม่เป็นที่แนะนำทั้งในคนปกติ และคนเป็นโรคไต เพราะในเนื้อสัตว์แปรรูปมีสารกันบูด และมีการบ่มแห้งเค็ม 

9.ผักดอง

ปกติผักดองจะดองด้วยเกลือ ทำให้ในผักดองมีปริมาณโซเดียมมาก จึงไม่แนะนำสำหรับคนเป็นโรคไต

10.มันฝรั่ง

มันฝรั่งแค่เพียงชิ้นเดียว ประมาณ 156 กรัม นั้น มีปริมาณโพแทสเซียมสูงถึง 610 มก. แต่ข่าวดีสำหรับคนอยากกินคือ มันฝรั่งบางๆ ที่ต้มอย่างน้อย 10 นาที สามารถลดปริมาณของโพแทสเซียมได้ถึง 50% ถ้าอยากกินมันฝรั่งอาจจะต้องนำไปต้มก่อน

สรุป

เมื่ออายุมากขึ้นร่างกายก็ค่อยๆเสื่อมถอยลงตามการใช้งาน ยิ่งใช้งานร่างกายหนัก เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น ร่างกายก็จะยิ่งพังหนักกว่าคนอื่นๆ โดนเฉพาะเมื่อมีปัญหาทีไต เพราะไตช่วยขับของเสียออกจากร่างกาย ถ้าไม่บำรุง อาจทำให้มีการตกค้างของสารพิษได้ ฉนั้น การรู้ว่า อาหารบำรุงไต ผู้สูงอายุ มีอะไรบ้าง และ เป็นโรคไต ห้ามกินอะไรบ้างนั้น จะเป็นทางเลือกที่ดีในระดับนึง ถ้าเลือกกินให้ถูก และเติมอาหารเหล่านั้นลงไปในอาหารแต่ละมื้อ 

คอมเมนต์

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ