หนุ่ม วัย40+ ต้องตรวจอะไรบ้าง

สารบัญเนื้อหา

เมื่ออายุเยอะขึ้น ก็เป็นธรรมดาที่สุขภาพร่างกายเสื่อมโทรมลง หากไม่ได้รับการบำรุงรักษาที่ดีก็อาจมีโรคร้ายต่างๆตามมาได้เพราะ ผู้ชายวัย 40 ปีขึ้นไป มักจะมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนส์เพศชาย จนส่งผลกระทบกับอวัยวะต่างๆ โดยเฉพาะอวัยวะในระบบสืบพันธุ์ ที่อาจส่งผลเสียต่อร่างกายและทำให้ชีวิตประจำลำบากมากขึ้น การตรวจเช็คร่างกายอย่างสม่ำเสมอจึงเป็นเรื่องที่ควรทำมากในวัยนี้ แล้วผู้ชายวัย 40+ เนี่ยเขามีปัญหาเรื่องอะไรกันบ้าง ไปโรงพยาบาลแล้วควรตรวจอะไร ตรงส่วนไหน เรามาหาคำตอบกันได้เลย

1. ตรวจคัดกรองและสารบ่งชี้มะเร็ง (Tumor Markers) โดยเฉพาะ มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งตับ และทางเดินอาหาร ตรวจหาความเสี่ยงโรคกระดูกพรุน สารเหล่านี้สามารถหาได้จากเลือดหรือสารคัดหลั่งอย่างเช่น น้ำในช่องท้อง น้ำในช่องปอด ซึ่งต้องตรวจในห้องปฏิบัติการที่มีความไวสูง มะเร็งเป็นโรคที่ยิ่งรู้เร็วก็ยิ่งสามารถป้องได้ เพราะโรคนี้มักเป็นโรคเงียบที่ค่อยๆ ทำลายร่างกายทีละนิดทีละน้อยจนรู้ตัวอีกทีก็เป็นระยะะ 2-3 ซะแล้ว การตรวจสารบ่งชี้จึงสำคัญมากกับผู้ชาย วัย40+

2. ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ((Electrocardiography: EKG)

เป็นการตรวจด้วยเครื่องมือเพื่อตรวจเช็คหัวใจเบื้องต้น ตรวจดูอาการผิดปกติของหัวใจ ทั้งการเต้น การสูบฉีดโลหิต ความดันโลหิต เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดโรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดหัวใจ โดยขณะตรวจนั้นผู้เข้ารับการตรวจจะอยู่ในท่านอนหงายบนเตียงตรวจ จากนั้นเจ้าหน้าที่จะนำขั้วไฟฟ้ามาติดตามอวัยวะต่างๆ ทั่วร่างกาย เช่น แขน ขา ข้อมือข้อเท้า และหน้าอก จากนั้นจะมีการใช้ไฟฟ้าต่ำเพื่อตรวจวัดหัวใจ โดยเครื่องจะประมวลผลออกมาเป็นกราฟคลื่นหัวใจ การตรวจทั้งหมดนี้จะใช้เวลาตรวจประมาณ 5-10 นาที อีกทั้งยังมีราคาค่าใช้จ่ายที่ไม่แพงอีกด้วย

3. ตรวจฮอโมนส์เพศชาย เพื่อประเมินระบบสืบพันธ์ุและระบบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพราะผู้ชายวัยนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงของฮอโมนส์โดยเฉพาะบริเวณต่อมลูกหมาก เพราะผู้ชายอายุ 40 ปีขึ้นไป จะมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนส์เพศชาย ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบกับอวัยวะต่างๆ เช่น ต่อมลูกหมาก ที่มีโอกาสมากที่จะกลับมาขายาตัวโตขึ้นอันเนื่องมาจากความผิดปกติของฮอร์โมนส์ ทำให้เกิดปัญหายอดฮิตอย่าง โรคต่อมลูกหมากโตตามมา

4. ตรวจการทำงานของไต ประเมินการขับของเสียของไต เพราะไตเป็นอวัยวะที่สำคัญ จึงควรป้องกันก่อนที่จะเกิดโรคไตวาย เนื่องจากไตของคุณอาจจะเสื่อมและทำงานได้เพียง 90% โดยไม่มีอาการที่ชัดเจน จนกระทั่งเกิดอาการ เพลีย เหนื่อยง่าย คันตามตัว การตรวจจะดูที่อัตราการกรองของไตว่ากรองของเสียได้ในระดับไหน กรองบกพร่องหรือไม่อย่างไร

5. อัลตราซาวด์ช่องท้อง เพื่อตรวจหาความผิดปกติของอวัยวะในช่องท้องได้เกือบทุกส่วนรวมถึงไปต่อมลูกหมากซึ่งเป็นโรคของผู้สูงอายุอีกด้วยการตรวจอัลตราซาวด์ ยิ่งไปกว่านั้นช่องท้องยังบรรจุอวัยวะสำคัญต่างๆไว้ เช่น ตับ ม้าม ปอด กระเพาะปัสสาวะ การตรวจเช็คช่องท้องจะทำให้สามารถรู้ได้เลยว่าอวัยวะไหนปกติหรือมีปัญหาอะไรหรือไม่