โซเดียม คืออะไร กินเยอะหรือน้อยเกินไป อาจอันตรายกว่าที่คิด

โซเดียม คืออะไร กินเยอะหรือน้อยเกินไป อาจอันตรายกว่าที่คิด

สารบัญเนื้อหา

ในปัจจุบัน คนไทยได้รับโซเดียมมากกว่าปริมาณที่แนะนำอย่างมาก ซึ่งองค์การอนามัยโลกหรือ WHO ระบุว่าผลสำรวจนี้น่าเป็นห่วงที่สุด เพราะเด็กไทยบริโภคเกลือมากถึง 3,194 มก. ต่อวัน ซึ่งมากกว่าปริมาณที่สูงสุดที่แนะนำต่อวันไปมาก (ปริมาณสูงสุดที่แนะนำต่อวัน 2,300 มิลลิกรัม)

โซเดียม คืออะไร

โซเดียม คืออะไร

ชื่อจริงๆของโซเดียม คือ โซเดียมคลอไรด์ โดยส่วนประกอบจะมีคลอไรด์ประมาณ 60% และโซเดียมประมาณ 40% รวมๆแล้วจะเรียกโซเดียมคลอไรด์ว่า เกลือ หรือรสชาติเค็มที่หลายๆคนกำลังติดรสชาตินี้

โซเดียม หรือ เกลือ ถูกนำมาปรุงอาหาร และยังถูกนำมาทำเป็นสารกันบูดให้กับอาหาร เพราะแบคทีเรีย ไม่สามารถเติบโตได้ ในที่ที่มีโซเดียมเป็นจำนวนมาก แต่ร่างกายคนเราไม่ได้ต้องการโซเดียมมากมาย เพื่อป้องกันแบคทีเรียไม่ให้เติบโต
ร่างกายคนเราต้องการโซเดียมในการกระตุ้นเส้นประสาท การผ่อนคลายกล้ามเนื้อ และรักษาสมดุลของแร่ธาตุ และ น้ำในร่างกายของคนเรา แต่ต้องการในปริมาณที่น้อยมาก
แต่ถ้าทานโซเดียมที่มากเกินไป อาจนำไปสู่ ความดัน ปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ หลอดเลือดสมอง และอาจรวมไปถึงการเสียแคลเซียมจากกระดูกอีกด้วย

โซเดียม และ เบาหวาน

โซเดียมหรือเกลือ ไม่ส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือด แต่คนที่เป็นเบาหวานก็ต้องจำกัดอยู่ดี เพราะว่าการทานเกลือมากเกินไป จะทำให้ความดันโลหิตเพิ่มมากขึ้น และคนเป็นเบาหวานก็มีแนวโน้มที่จะได้รับผลกระทบจากความดันโลหิตสูงมาก เพราะนั่นจะนำมาซึ่ง ความเสี่ยงต่างๆต่อหัวใจ หลอดเลือด และไต ตามกันมา

โซเดียม ประโยชน์ และข้อเสีย 10 ข้อ ที่ควรรู้

โซเดียม ประโยชน์ และข้อเสีย

การทานโซเดียมให้เพียงพอต่อวันนั้นมีประโยชน์ต่อร่างกายหลายๆด้าน แต่ถ้ามากกว่า 2,300 อาจจะเริ่มส่งผลเสียมากกว่าผลดีที่จะเกิดได้ และถ้าน้อยกว่า 186 มก.ต่อวัน ก็มีผลเสียตามมาด้วยเช่นกัน

บทความ โซเดียมประโยชน์และ โทษ

โซเดียมประโยชน์ มีอะไรบ้าง

  • ควบคุมของเหลวในร่างกาย
  • ป้องกันแดดเผา
  • ปรับปรุงการทำงานของสมอง
  • ลดอาการตะคริว

กินโซเดียมเยอะผลเสีย

  • เพิ่มความเสี่ยง หลอดเลือดและ หัวใจ
  • ไตเรื้อรัง
  • กระดูกพรุน
  • มะเร็ง

ปริมาณโซเดียม ต่อวัน

องค์การอาหารและยา หรือ FDA ได้ระบุว่า ปริมาณโซเดียมต่อวัน ควรน้อยกว่า 2,300 มิลลิกรัมต่อวัน เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาต่างๆต่อร่างกาย
และวิทยาลัยฮาร์วาร์ดได้ระบุว่า ร่างกายต้องการโซเดียมต่อวันเพียงแค่ 500 มก.
ดังนั้นถ้ารักสุขภาพ ควรทานโซเดียมอย่างน้อยๆ 500 มก.ต่อวัน แต่ไม่ควรเกิน 2,300 มก.ต่อวัน เพื่อ ให้ร่างกายได้รับโซเดียมที่เพียงพอ แต่ไม่เยอะจนเกินไป

ผลจากการขาด โซเดียม (ภาวะ Hyponatremia)

  • ปวดหัว คลื่นไส้ อาเจียน
  • สับสน กระสับกระส่า
  • หงุดหงิด
  • ง่วงนอนและความเหนื่อยล้า
  • กล้ามเนื้ออ่อนแรงชักหรื
  • ตะคริว
  • ชัก

อาการโซเดียมเป็นพิษ (ภาวะ Hypernatremia)

อาการโซเดียมเป็นพิษ หรือภาวะ Hypernatremia เป็นภาวะที่เกิดขึ้นเฉียบพลัน สามารถเกิดได้กับผู้สูงอายุที่มีความบกพร่องทางร่างกายและจิตใจ ที่ไม่ได้กินหรือดื่ม ให้เพียงพอ การเกิดภาวะนี้อาจนำไปสู่การ ชัก โคม่า ร้ายแรงสุดถึงขั้นเสียชีวิตได้

อาหารโซเดียมสูง

  • เนื้อแปรรูป
  • ซุปกระป๋อง
  • ถั่วเค็ม
  • อาหารจานด่วน

บทความ 9 อาหารโซเดียมสูง

จะรู้ได้ยังไงว่าได้รับโซเดียมมากเกินไป ?

  • ตัวบวม หรือ อ้วนขึ้น
  • ปวดหัวบ่อย
  • หิวน้ำมาก
  • เข้าห้องน้ำบ่อย
  • อยากอาหารรสเค็ม

วิธีขับโซเดียมออกจากร่างกาย

ร่างกายจะขับโซเดียมส่วนเกินออกทางปัสสาวะ เหงื่อ และอุจจาระ การดื่มน้ำมากๆ เป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะช่วยให้ร่างกายขับโซเดียมออก ในบางกรณี แพทย์อาจสั่งยาขับปัสสาวะซึ่งช่วยให้ร่างกายขับโซเดียมออกทางปัสสาวะมากขึ้น วิธีอื่นในการลดระดับโซเดียม ได้แก่ 

  • ออกกำลังกายให้เหงือออก
  • เพิ่มโพแทสเซียม เช่นทานอโวคาโดหรือมันฝรั่ง

คอมเมนต์

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ