ผักเชียงดา สรรพคุณ 6 อย่างที่คนเป็นเบาหวาน ไม่ควรมองข้าม

ผักเชียงดา สรรพคุณ 6 อย่างที่คนเป็นเบาหวาน ไม่ควรมองข้าม

สารบัญเนื้อหา

ผักเชียงดา คือ

ผักเชียงดา (Gymnema) เป็นผักพื้นบ้านที่สามารถพบได้บริเวณตอนเหนือของไทย มีลักษณะไม้เถาเลื้อย ใบเดี่ยวรูปไข่ ออกดอกเป็นช่อๆ ภาษาเหนือเรียกว่า ผักกูด , ผักม้วนไก่ ,ผักเซียงดา, ผักเจียงดา, ผักจินดา และผักเซ่งดา เป็นต้น
ชื่อวิทยาศาสตร์เรียกว่า Gymnema Inodorum ซึ่งคำว่า Gymnema มีรากศัพท์มาจากภาษาฮินดู “Gurmar” ซึ่งแปลได้ว่า ผู้ฆ่าน้ำตาล แน่นอนว่าสรรพคุณของผักเชียงดานั้นก็คือการช่วยลด ต้าน สะสาง น้ำตาลในเลือดนั่นเอง

ผักเชียงดา สรรพคุณ 6 อย่าง

ผักเชียงดา สรรพคุณ 6 อย่างที่ไม่ควรมองข้าม

ก่อนจะไปดูผักเชียงดา สรรพคุณ 6 อย่าง ทางชีวาขอบอกก่อนว่าการศึกษาเกี่ยวกับ สรรพคุณ 6 อย่างนี้ เป็นการศึกษาใน Gymnema Sylvestre ซึ่งเป็นผักอีกสายพันธุ์ของผักเชียงดา (Gymnema) แต่มีสารสำคัญในการลดน้ำตาลเหมือนกัน เลยใช้นำมาอ้างอิงกัน  (3)

Gymnema Sylvestre มีการใช้เป็นยาอายุรเวทมาเป็นพันๆ ปีแล้วในแถบประเทศแอฟริกา อินเดีย และ ออสเตรเลีย จึงมีการวิจัยและนิยมใช้มากกว่า

หรือจะเรียกง่ายๆว่า Gymnema Sylvestre คือผักเชียงดา ที่เกิดในประเทศอินเดีย

ส่วน Gymnema Inodorum คือ ผักเชียงดา ที่เกิดแถวโซนภาคเหนือของประเทศไทยนั่นเอง

พระเอกของงานนี้คือสารสำคัญของผักเชียงดามีชื่อว่า จิมนิมิก เอซิด (Gymnemic Acid) ที่เป็นสารที่มีโมเลกุลคล้ายกับน้ำตาล เมื่อเข้าสู่กระแสเลือด ร่างกายจะดูดซึม จิมนิมิก เอซิด แทนน้ำตาลตัวจริง จากนั้นร่างกายจะขับน้ำตาลตัวจริงออกทางปัสสาวะอีกด้วย ส่งผลให้ค่าน้ำตาลในเลือดลดลงอย่างมีนัยสำคัญ

โดยในผักเชียงดาจะมีสารที่เรียกว่า Gymnemic Acid ที่ทีฤทธิ์ในการยับยั้งการขนส่งน้ำตาลและชะลอการดูดซึมในลำไส้เล็กนั่นเอง โดยส่วนใหญ่นิยมบริโภคด้วยการต้มกิน ก่อนจะเริ่มมีการแปรรูปในรูปแบบต่างๆ เช่น บดละเอียดแล้วทำเป็นแคปซูลยา และทำเป็นซองชาชง ซึ่งสะดวกต่อการบริโภคของผู้ป่วยที่มีภาวะค่าน้ำตาลสูง โดยจำนวนของสารสำคัญที่เหมาะสมคือ 25% ขึ้นไป จึงจะทำให้การออกฤทธิ์ในการยับยั้งน้ำตาลมีประสิทธิภาพมากที่สุด

นอกจากจะมีสรรพคุณในการต้านน้ำตาลแล้วนั้น ผักเชียงดายังมีฤทธิ์เป็นยาเย็น สามารถช่วยแก้ไข้ บำรุงร่างกาย ได้ด้วยการชงดื่ม มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง ช่วยชะลอความชรา แก้ท้องผูก บำรุงตับอ่อนและแก้หอบหืด โดยไม่ปัจจุบันยังไม่พบผลข้างเคียงของการบริโภคผักเชียงดา แต่ข้อแนะนำคือหลีกเลี่ยงการบริโภคผักเชียงดาในขณะท้องว่าง เพราะตัวผักมีกรดมากอาจจะเกิดอาการปวดท้องได้

ผักเชียงดา สรรพคุณ 1.ทำให้อยากน้ำตาลน้อยลง

1.ทำให้อยากน้ำตาลน้อยลง

ความหวานนั้นทำให้รู้สึกดีกระปรี้กระเปร่า สดชื่น แต่ความหวานนั้นเต็มไปด้วยอันตรายหลายอย่าง การลดหรือเลิกกินน้ำตาลนั้นดีต่อร่างกายมากๆ แต่ยากตรงการจะเลิกนี่แหละ ผักเชียงดาจึงเป็นทางเลือกในการลดการทานน้ำตาล

ผักเชียงดามีกรดที่ชื่อว่า กรดจิมนิมิก เอซิด (Gymnemic Acid) ซึ่งกรดนี้ทำหนน้าที่ยับบยั้งความหวาน เมื่อทาน กรดจิมนิมิก เอซิด (Gymnemic Acid) และไปทานของหวาน จะทำให้ได้รับความหวานน้อยลง เนื่องจาก กรดจิมนิมิก เอซิด (Gymnemic Acid) จะไปบล็อกตัวรับรสหวาน ทำให้ของหวานไม่ค่อยน่าทานเหมือนปกติ  (3,4)

ผักเชียงดา สรรพคุณ 2.ลดระดับน้ำตาลในเลือด

2.ลดระดับน้ำตาลในเลือด

ผักเชียงดา ได้รับการขนานนามว่า ผู้ฆ่าน้ำตาล จากคำว่า Gymnema ที่มาจากรากศัพท์ของภาษาฮินดู Gurmar เนื่องจาก กรดจิมนิมิก เอซิด (Gymnemic Acid) ในผักเชียงดา ปิดกั้นต่อมรับรสหวาน และยังปิดกั้นตัวรับที่ดูดซึมน้ำตาลในลำไส้ ทำให้น้ำตาลในเลือดหลังทานอาหารนั้นลดน้อยลง
มีการศึกษาที่แสดงให้เห็นว่าการทานกรดจิมนิมิก เอซิด (Gymnemic Acid) 200-400 มก. สามารถลดการดูดซึมน้ำตาลในลำไส้ได้ (5,6)

และยังมีอีกหลายการศึกษาที่แสดงให้เห็นว่า การทานผักเชียงดา ทำให้น้ำตาลในเลือดลดลงหลังมื้ออาหารเมื่อเวลาผ่านไป นั่นแสดงว่า ผักเชียงดาสามารถลดความเสี่ยงที่จะเป็นเบาหวาน หรือ ลด ภาวะแทรกซ้อนจากเบาหวานได้นั่นเอง

อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีการศึกษาที่บ่งบอกว่าการทานผักเชียงดาเพียงอย่างเดียว สามารถรักษาเบาหวานได้ ควรกินยาเบาหวานปกติและทานผักเชียงดาเป็นส่วนเสริม แต่ให้ระวังเรื่องภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ จากการกินยาเบาหวานและผักเชียงดาในปริมาณที่มากเกินไป แนะนำให้ปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญก่อนจะดีที่สุด

ผักเชียงดา สรรพคุณ 3.อาจปรับปรุงอินซูลิน

3.อาจปรับปรุงอินซูลิน

อินซูลิน ฮอร์โมนที่เกี่ยวกับเบาหวานโดยตรง ถ้ามีน้อยเกินไป จะทำให้น้ำตาลในเลือดสูงยิ่งขึ้นได้
การที่ร่างกายมีปริมาณอินซูลินที่สูง จะยิ่งทำให้น้ำตาลในเลือดถูกขับออกจากเลือดได้เร็วยิ่ง ทำให้ลดความเสี่ยงของเบาหวาน หรือภาวะแทรกซ้อนจากเบาหวานได้

ผักเชียงดา สรรพคุณอาจช่วยไปกระตุ้นการผลิตอินซูลินในตับอ่อน ช่วยสร้างเสริมการสร้างอินซูลิน ทำให้มีปริมาณอินซูลินเพียงพอต่อการจัดการน้ำตาลในเลือดได้ (7,8)

ผักเชียงดา สรรพคุณ 4.ลดความเสี่ยงโรคหัวใจ

4.ลดความเสี่ยงโรคหัวใจ

โรคหัวใจเกิดจากไขมันเลวอุดตันในหลอดเลือดทำให้เลือดไปเลี่ยงส่วนต่างๆได้น้อยลง

ไขมันเลว (LDL) เป็นไขมันที่ถ้าได้รับในปริมาณที่เพียงพอนั่นดีต่อร่างกาย แต่ถ้าได้รับมากเกินไป จะเริ่มไปเกาะกับหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดอุดตัน และทำให้เกิดโรคต่างๆที่เกี่ยวกับหลอดเลือดตามมาได้เช่น โรคหัวใจ หลอดเลือดในสมองตีบ เป็นต้น

มีการศึกษาโดยใช้สารสกัดจากผักเชียงดา ในหนูที่มีไขมันสูง พบว่า สารสกัดจากผักเชียงดา สรรพคุณช่วยลดระดับไขมันเลว (LDL) ในเลือดของหนูได้

และในการศึกษาคนยังพบอีกว่า ไขมันเลว (LDL) ลดลงถึง 20.2% และเพิ่มไขมันดี (HDL) ได้ถึง 22% อีกด้วย

ไขมันดี (HDL) จะทำหน้าที่จับไขมันเลว (LDL) ในหลอดเลือดไปทำลายที่ตับ ทำให้ความเสี่ยงของโรคหัวใจลดลง (9,10,11)

ผักเชียงดา สรรพคุณ 5.ลดการอักเสบ

5.ลดการอักเสบ

มีการศึกษาที่บ่งบอกว่า น้ำตาลในร่างกายที่มากเกินไปจะทำให้การอักเสบของร่างกายต่างๆเพิ่มขึ้น ทั้งในคนและสัตว์

แต่เนื่องจากผักเชียงดา ลดการอยากน้ำตาล และลดการดูดซึมน้ำตาลในลำไส้ได้ ทำให้ได้รับน้ำตาลน้อยลง การได้รับน้ำตาลน้อยลงก็หมายความว่าช่วยลดการอักเสบของร่างกายได้

และยังมีการศึกษาอีกว่า ผักเชียงดาช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ทำให้การอักเสบลดลงอีกด้วย  (12,13,14)

ผักเชียงดา สรรพคุณ 6.อาจช่วยลดน้ำหนัก

6.อาจช่วยลดน้ำหนัก

ผักเชียงดานั้นช่วยลดการรับรสหวานและยังลดไขมันในเลือดทั้งคนและสัตว์

มีการศึกษาในคนที่น้ำหนักเกินมาตรฐาน 60 คน โดยให้ใช้สารสกัดจากผักเชียงดา พบว่าน้ำหนักลดลงไป 5-6% จากการทานสารสกัดผักเชียงดา และ อาหารที่น้อยลง

และยังมีการศึกษาในหนูที่อ้วน เป็นเวลา 3 สัปดาห์ พบว่า น้ำหนักลดลงอย่างมีนัยสำคัญ (10,15,16)

ผักเชียงดา อันตรายไหม ถ้ากินมากเกินไป

ผักเชียงดา อันตรายไหม ?

ผักเชียงดา สรรพคุณดีต่อคนเป็นเบาหวานก็จริง แต่ถ้ากินผักเชียงดามากเกินไป จากส่งผลดี จะเป็นการส่งผลเสียได้ เพราะอะไรที่มากไปไม่เคยดีต่อสุขภาพ แม้แต่อาหารที่ได้ชื่อว่าดีต่อสุขภาพที่สุด ถ้ากินมากเกินไป ก็ส่งผลในด้านลบได้

ปริมาณแนะนำคือ 200-500 มก. ต่อครั้ง ถือว่าเป็นปริมาณที่ปลอดภัย และมีการศึกษารองรับแล้วว่าปลอดภัย แต่ยังไม่มีผลการศึกษาที่บอกว่าปริมาณมากแค่ไหนถึงจะเป็นการทานมากเกินไป

ถ้าทานผักเชียงดามากเกินไป อาจทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำได้

ไม่แนะนำให้เด็ก ผู้ที่วางแผนจะตั้งครรภ์ สตรีมีครรภ์ หรือ กำลังให้นมบุตร ทาน ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญก่อนจะดีที่สุด (17,18)

ผักเชียงดา โทษเมื่อทานมากเกินไป (หรืออาจแพ้)

  1. คลื่นไส้และอาเจียน
  2. ท้องร่วง
  3. ปวดท้อง
  4. ปวดศีรษะ
  5. อาการวิงเวียนศีรษะ

บทความ : ผักเชียงดา โทษ 9 อย่าง เมื่อทานมากเกินไป (หรืออาจแพ้)

ผักเชียงดา แคปซูล คืออะไร

ผักเชียงดา แคปซูล คือ ผักเชียงดาที่แปลรูปเพื่อให้ทานง่ายไม่ขม มาในรูปแบบของแคปซูล ที่เม็ดเล็ก แต่ประโยชน์ครบสำหรับคนที่ต้องการลดน้ำตาล เมื่อเป็นรูปแบบของแคปซูลแล้ว ตัวแคปซูลจะลื่นเวลาทาน ทำให้กลืนง่ายยิ่งขึ้น โดยเปลือกของแคปซูลทำมาจากเจลาติน และน้ำ ซึ่งเปลือกของแคปซูลจะไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายประโยชน์ของชนิดแคปซูลนั้นยังช่วยให้ผู้ทาน ไม่ได้กลิ่นและรสของผักเชียงดา ยิ่งทำให้การทานสมุนไพรนั้นง่ายยิ่งขึ้นไปอีกด้วย

บทความ : ผักเชียงดาแคปซูล ชีวา ดีกว่าผักเชียงดาแบบปกติยังไง?

ผักเชียงดา กินตอนไหนดี

ผักเชียงดา กินตอนไหนดี ?

ผักเชียงดาแคปซูล กินตอนไหนดี

แนะนำให้ทานหลังอาหาร ปริมาณคือ 400 – 500 มก. หลังอาหาร 1-2 มื้อ ควรตรวจสอบให้ดีว่า แต่ละแคปซูลมีปริมาณ ผักเชียงดา เพียงพอ หรือ มากเกินไป หรือไม่ เพราะถ้าน้อยเกินไป อาจไม่ส่งผลอะไรเลย หรือถ้ามากเกินไป อาจส่งผลเสียมากกว่าผลดีได้ (18)

ชาผักเชียงดา กินตอนไหนดี

ชาผักเชียงดาที่ไม่มีส่วนผสมของคาเฟอีน สามารถชงดื่มได้ตลอดทั้งวัน และถ้าชาผักเชียงดามีส่วนผสมของ คาโมมายล์ และใบหม่อน อย่างชาของชีวา ช่วงเวลาที่แนะนำคือ ก่อนอาหาร 10-15 นาที , ตอนเช้า , บ่ายโมง 15.00 น. ,และก่อนนอนประมาณ 45 นาที  (19)

ชาผักเชียงดา ดื่มก่อนอาหารดียังไง

ชาผักเชียงดา แนะนำให้ดื่มก่อนอาหาร อย่างน้อย 10-15 นาที เพื่อให้ชาผักเชียงดาปิดต่อมรับรสหวาน ทำให้ทานอาหารหรือของหวานได้น้อยลง ช่วยลดน้ำหนักได้  (19)

ชาผักเชียงดา ดื่มตอนเช้าดียังไง

ดื่มชาผักเชียงดาของชีวาตอนเช้า จะช่วยเพิ่มความชุ่มชื่นให้ร่างกาย จากการขาดน้ำ จากการนอนตลอดทั้งคืน และการนอนก็ทำให้เลือดข้นขึ้นอีกด้วย การดื่มชาชีวาตอนเช้า เลยช่วยให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น ลดความดันโลหิต นั่นเอง (19)

ชาผักเชียงดา ดื่มตอนบ่ายดียังไง

การดื่มชาตอนบ่ายๆ ช่วยให้ร่างกายเย็นลง ลดความดันโลหิต เพิ่มภูมิคั้มกัน และลดไขมันในเลือด เนื่องจากช่วง 15.00 น. เป็นช่วงที่อุณภูมิร่างกายสูงที่สุด (19)

ชาผักเชียงดา ดื่มก่อนนอนดียังไง

และการดื่มชาชีวาตอนก่อนนอน จะช่วยเพิ่มระบบภูมิคุ้มกัน ช่วยให้ร่างกายสร้างเซลล์ใหม่ ลดน้ำตาลในเลือด ผ่อนคลาย และ หลับสบายขึ้น จากส่วนผสมของดอกคาโมมายล์ ที่ทำให้ผ่อนคลายนั่นเอง (20)

วิธีทานผักเชียงดา กินยังไง ไม่ให้น่าเบื่อ

  1. ผักเชียงดาสมูทตี้ / เชค
  2. โยเกิร์ตผักเชียงดา
  3. ชาผักเชียงดา
  4. ผักเชียงดาโปรตีนเชค
  5. เติมผงผักเชียงดาแทนน้ำตาลในกาแฟหรือชา

บทความ : 9 วิธีทานผักเชียงดา กินยังไง ไม่ให้น่าเบื่อ แถมดีต่อสุขภาพ

การวิจัยผักเชียงดา

มีงานวิจัยโดยทีมผู้เชี่ยวชาญจาก อุทยานวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (3)โดยให้กลุ่มผู้มีภาวะก่อนเบาหวาน ทดลองทานเชียงดาผงชนิดแคปซูล ชนิดชาชง ชนิดแคปซูลและชาชงเพื่อสังเกตผลลัพธ์ของสมุนไพรที่ทำจากผักเชียงดา พบว่าการบริโภคอย่างต่อเนื่องสามารถช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้จริง ช่วยลดภาวะอาการปลายประสาทอักเสบได้อย่างชัดเจน ในทั้งสองชนิด ทั้งนี้ทั้งนั้นผลการทดลองได้สรุปไว้อย่างชัดเจนว่า การบริโภคร่วมกันทั้งสองชนิดจะให้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด

นิตรยาสารออนไลน์ได้เผยแพร่เมื่อปี พ.ศ. 2544 (1) ว่ามีการศึกษา กรดจิมนิมิก เอซิด (Gymnemic Acid) ในผักเชียงดา สายพันธ์ Gymnema sylvestre ต่อการดูดซึมกลูโคสในลำไส้เล็กตั้งแต่ต้นปี 1980 ทำให้พบว่า

กรดจิมนิมิก เอซิด (Gymnemic Acid) ในผักเชียงดา ทำให้การรับรสหวานได้น้อยลง และยับยั้งการดูดซึมกลูโคสในลำไส้เล็ก

และเมื่อนำ กรดจิมนิมิก เอซิด (Gymnemic Acid) ไปใช้ร่วมกับยา โวกลิโบส (Voglibose) ซึ่งเป็นยาเบาหวานพบว่า

หลังจาก 30 นาที น้ำตาลในเลือดหายไป 37% และน้ำตาลในเลือดหายไปสูงสุดถึง 63% ในช่วง 60 นาที แสดงให้เห็นการใช้ กรดจิมนิมิก เอซิด (Gymnemic Acid) ร่วมกับยาเบาหวาน โวกลิโบส (Voglibose) นั้นช่วยลดน้ำตาลได้อย่างมาก

แต่ข้อเสียของยา โวกลิโบส (Voglibose) คือ มีความเป็นพิษต่อตับและรบกวนทางเดินอาหาร ซึ่งส่งผลเสียต่อผู้ที่เป็นเบาหวาน การใช้เพียงกรดจิมนิมิก เอซิด (Gymnemic Acid)จากผักเชียงดา จึงเป็นทางออกที่ปลอดภัยกว่า

มีการศึกษาที่เผยแพร่เมื่อปี พ.ศ. 2556 (2) เกี่ยวกับ ผลของกรด Deacyl gymnemic ต่อสภาวะสมดุลของกลูโคส ในหนูทดลอง

พบว่า กรด Deacyl gymnemic ในผักเชียงดา ส่งผลให้การดื้ออินซูลิน , ความดันโลหิต , ระดับน้ำตาลในเลือด ลดลง และไขมันเลว (LDL) ยังลดลงอย่างมีนัยสำคัญอีกด้วย

สรุป

ผักเชียงดา สรรพคุณส่วนใหญ่จะเป็นเกี่ยวกับเบาหวาน และมีการใช้เป็นยาอายุรเวทในแถบประเทศอินเดียมามากกว่าพันปีแล้ว แต่ในแถบอินเดีย และทั่วโลก จะเรียกว่า Gymnema sylvestre ซึ่งในประเทศไทยเรียกว่า Gymnema Inodorum ซึ่งเป็นคนละสายพันธุ์ แต่ผักเชียงดา สรรพคุณทั้ง 2 สายพันธุ์นั้น คล้าย หรือ เหมือนกัน เลยใช้อ้างอิงกันได้
ควรทานผักเชียงดา 400 – 500 มก. ต่อวัน เพื่อให้ผลที่ดีในการลดน้ำตาล ถ้ามากกว่านี้ อาจทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำตามมาได้

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

  1. กรดยิมเนมิกต่อการดูดซึมมอลโตส | ncbi.nlm.nih
  2. ผลของกรด deacyl gymnemic | ncbi.nlm.nih
  3. Gymnema sylvestre | pubmed
  4. ผลของการรับรู้ความหวาน | pubmed
  5. Gymnema sylvestre สําหรับเบาหวาน | pubmed
  6. สารสกัดจากใบ Gymnema Sylvestre | diabetesincontrol
  7. Gymnema Sylvestre กับความอ้วน | pubmed
  8. Gymnema Sylvestre ต่อการหลั่งอินซูลิน | pubmed
  9. Gymnema Sylvestre ต่อความอ้วน | pubmed
  10. Gymnema ต่อการลดน้ำหนัก | pubmed
  11. Gymnema sylvestre ต่อการเผาผลาญไขมัน | pubmed
  12. จุลินทรีย์ในลําไส้ | pubmed
  13. เครื่องดื่มที่มีน้ำตาล ทำให้การเผาผลาญกลูโคสลดลง | pubmed
  14. คุณสมบัติทางพฤกษเคมีและเภสัชวิทยาของ Gymnema sylvestre | pubmed
  15. ฤทธิ์ต้านโรคอ้วนของสารสกัดจาก Gymnema sylvestre | pubmed
  16. สารสกัดจาก Gymnema sylvestre ในการควบคุมน้ำตาล| pubmed
  17. การทบทวนอย่างเป็นระบบของ Gymnema sylvestre | pubmed
  18. เวลาในการดื่มชา | pubmed
  19. ผลของวิธีการดื่มชาคาโมมายล์ | pubmed

คอมเมนต์

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ